กัญชาเป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรชื่อดังที่เคยถูกระบุว่ามี สารเสพติด ปัจจุบันมีความสำคัญและถูกกล่าวถึงมากที่สุดอีกหนึ่งชนิด ไม่เพียงแม้แต่ในประเทศไทย เพราะต่างประเทศทั่วโลกก็นิยมปลูกและนำมาใช้บริโภคหรือเป็นสารสกัดทางยาชนิดต่างๆ จัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้สูง แต่ในประเทศไทยเองนั้นเพิ่งจะมีการปลดล็อกการปลูกกัญชาอย่างถูกกฎหมาย ท่ามกลางเสียงการตอบรับที่ดี ดังนั้นเราควรทำความรู้จักกับพืชชนิดนี้เพื่อไม่ให้ตกยุคและทันกระแสกันดีกว่า
สารบัญเนื้อหา
พืชกัญชาเป็นอย่างไร มีสายพันธุ์อะไรบ้าง
สำหรับ กัญชา (Canabis) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีขนาดลำต้นของ ต้น กัญชา ความสูงประมาณ 2-5 เมตร โดยพืชชนิดนี้จะมีลักษณะลำต้นตัวผู้และต้นตัวเมียแยกจากกัน หรือศัพท์ทางการ คือ Dioecious Plant ส่วนลักษณะของใบพืชกัญชาจะมีรูปแบบที่แยกออกจากกันเป็นแฉกที่ 5-8 แฉก โดยทุกๆ แฉกจะมีรอยหยัก หรือบางใบจะมีดอกออกช่อเล็กๆ ตามกิ่งและก้านของต้น
ในส่วนของพืชกัญชาที่ถูกนำมาใช้เป็นยาเสพติด จะเป็นบริเวณ ใบ กัญชา ตามยอดช่อและดอก รวมไปถึงกิ่งและก้าน โดยจะนำมาตากแดดจนแห้ง แล้วนำมาบดให้ละเอียดและใส่ในบ้องกัญชา หรืออาจนำมาม้วนให้มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่เรียกว่า “พันลำ” นอกจากนี้คนส่วนใหญ่นิยมพูดคุยเล่นเกี่ยวกับกัญชามากกว่าจะเป็นในเชิงวิชาการ ทำให้เรามักจะได้ยินในหมู่วัยรุ่นในคำว่า “ดูดเนื้อ” หรือ “การปุ๊น” “การเติม” แล้วแต่ความนิยมของคนในพื้นที่เรียกต่างกัน สำหรับ พันธุ์ กัญชา จะมีด้วยกัน 3 สายพันธุ์หลัก ดังนี้
กัญชาสายพันธุ์อินดิกา
สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis Indica) ลักษณะเป็นลำต้นพุ่มๆ เตี้ยๆ ความสูงเมื่อโตเต็มที่ราว 180 เซนติเมตร ลักษณะใบสั้นและกว้างมีสีเขียวเข้ม กิ่งก้านหนาและดก สามารถเก็บเกี่ยวได้อยู่ระหว่าง 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มอากาศเย็น ซึ่งมีสาร CBD (Cannabidiol) ออกฤทธิ์ในการระงับประสาทช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดอาการปวดเรื้อรัง
กัญชาสายพันธุ์ซาติวา
สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis Sativa) จะมีลักษณะลำต้นหนา ความสูงเมื่อโตเต็มที่ราว 6 เมตร มีใบเรียวและยาวเป็นสีเขียวอ่อน ระยะเวลาเติบโตที่สามารถเก็บเกี่ยวได้อยู่ระหว่าง 9-16 สัปดาห์ ชอบแดด และอากาศร้อน ซึ่งมีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทสูงกว่าพันธุ์อินดิกา
กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิส
สายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis Ruderalis) ลักษณะลำต้นเตี้ยที่สุดจากทั้งสามสายพันธุ์ ทำให้คล้ายกับวัชพืช ใบมีความกว้าง และมี 3 แฉก เป็นพืชที่โตได้เร็ว ชอบทั้งอากาศร้อนและเย็น มีปริมาณสาร THC น้อยกว่าทั้งสองสายพันธุ์แรก แต่มีปริมาณ CBD สูง นิยมนำมาผสมข้ามสายพันธุ์ ร่วมกับซาติวาและอินดิกา ทำให้ได้คุณสมบัติทางยาที่ดียิ่งขึ้น
กัญชง พืชที่มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นกัญชา
กัญชง หรือชื่อเรียกว่า เฮมพ์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์เหมือนเช่นเดียวกับ กัญชา ทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดว่า กัญชง กัญชา เป็นชนิดเดียวกัน เนื่องจากมีต้นกำเนิดที่เดียวกัน เดิมทีเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ทางเขตอบอุ่นในแถบทวีปเอเชีย มีการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างช่วงตอนกลางของทวีป ตั้งแต่แถบทะเลสาบแคสเปียน ไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัยเลยไปทางตะวันตกของไซบีเรีย ก่อนที่จะกระจายมาสู่ประเทศไทยตามชนเผ่าต่างๆ นำมาปลูกในที่สุด
สำหรับ กัญชง จัดเป็นพืชชนิดที่เติบโตง่าย ไม่ต้องให้น้ำในปริมาณมาก และโตเร็วได้ในทุกสภาพอุณหภูมิอากาศ ไม่ต้องมีการบำรุงใส่ปุ๋ย และเป็นพืชที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในส่วนของลักษณะลำต้นจะมีความสูงถึง 2 เมตร จำนวนแตกกิ่งน้อย ข้อเป็นปล้อง มีผลที่เป็นเมล็ดแห้งสีเทา ลักษณะคล้ายรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อที่ส่วนปลายยอดและตามซอกใบ ใบสีเขียวอ่อนอมเหลือง แตกแฉกเรียงตัวห่างได้ถึง 7-11 แฉก และไม่มีสารกระตุ้นประสาทเช่นเดียวกับกัญชา โดยที่ต่างประเทศอย่างจีน แคนาดา และบางประเทศในทวีปยุโรปเอาเฮมพ์ไปใช้ประโยชน์ในการผสมคอนกรีตด้วย
สรรพคุณของ กัญชง กัญชา และการนำไปใช้ประโยชน์
สำหรับการนำไปใช้ หากเป็นภูมิปัญญาของไทยจะใช้ทั้งการนำมาเป็นยา และใช้ในส่วนผสมของอาหารต่างๆ เพื่อชูรสชาติของอาหารให้อร่อยกลมกล่อม ใส่ในแกง ผัด หรือ ก๋วยเตี๋ยว ใช้เป็นใบสดหรือแห้งได้ทั้งหมด โดยปริมาณที่ใช้ส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 5-8 ใบ ต่อการปรุงอาหารต่อหนึ่งครอบครัว นอกจากนี้ยังนิยมนำมาผสมในเครื่องดื่ม หรือทำเป็น น้ำ กัญชา ช่วยเพิ่มรสสัมผัสและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และยังมีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ Tetrahydrocannabinol (THC) และสาร Cannabidiol (CBD)
ภายในสารของ Tetrahydrocannabinol (THC) จะมีผลต่อจิตและประสาท คนส่วนใหญ่จึงเรียกว่า สารเมา และสาร Cannabidiol (CBD) ฤทธิ์จะช่วยลดการอักเสบ ลดอาการชัก เกร็ง ช่วยทำให้สงบและรู้สึกผ่อนคลาย มีสารที่ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกในร่างกายได้หลายชนิด และยังมีสรรพคุณที่สำคัญอีกมากมาย ดังนี้
สรรพคุณที่เป็นประโยชน์ของกัญชา
- ลดอาการปลอกประสาทเสื่อม
- ช่วยควบคุมอาการลมชัก
- ลดความดันในตาจากอาการต้อหิน
- รักษาและป้องกันโรคสมองฝ่อ
- ช่วยแก้เครียดแก้วิตกกังวล
- ช่วยให้นอนหลับได้สบายมากขึ้น
- ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- มีสารที่ทำให้กระตุ้นการอยากอาหาร
น้ำมันกัญชา คืออะไร นำไปใช้อย่างไรได้บ้าง
น้ำมันกัญชา เป็นสารสกัดเข้มข้น ที่ได้จากต้นกัญชา โดยจะนำกัญชามาทำให้เจือจาง ในการใช้เป็นส่วนประกอบในรูปแบบสารสกัดเป็นยาสำหรับทางการแพทย์ หรือใช้ได้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยจะต้องผ่านการรับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะใช้ผลิตเป็นยารักษาโรค เพราะ น้ำ มัน กัญชา จะต้องนำไปผสมร่วมกับส่วนผสมต่างๆ ที่ช่วยให้เหมาะกับการรักษาอาการแต่ละประเภท เช่น การนำไปหยดบริเวณใต้ลิ้น หรือการนำไปทาตามผิวหนัง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม น้ำมันกัญชา ทุกชนิดที่จะนำไปรักษาโรคและสุขภาพ จะต้องมีการผ่านกระบวนการสกัดที่ถูกต้อง และอยู่ภายใต้การควบคุมในวิธีการใช้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากคนส่วนใหญ่เชื่อว่า น้ำ มัน กัญชา เป็นยาสารพัดโรค ทำให้มีการนำไปใช้รักษาโรคอาการต่างๆ อย่างผิดวิธี
ดังนั้นการใช้งานที่ถูกต้องส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้สำหรับ หยอดหู หยอดตา รักษาอาการเกี่ยวกับหูและตา แต่ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หรือการรักษาสิวและโรคทางผิวหนังบางชนิด ลดอาการอักเสบของสิวและผิวหน้าที่มีผื่นแดง เป็นต้น
การปลูกและครอบครองกัญชา
สำหรับในประเทศไทยที่เปิดเสรีกัญชา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ทำให้ประชาชนสามารถ ปลูกกัญชา ภายในบ้านที่มีรั้วรอบขอบชิดได้ และไม่ต้องขออนุญาตอย่างเป็นทางการ แต่ต้องมีการแจ้งข้อมูลกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จัดทำขึ้นก่อน ผ่านแอพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” หรือเว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th ซึ่งจะออกใบรับจดแจ้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ เมื่อมีการพบกระทำความผิดที่ไม่เป็นตามวัตถุประสงค์ ทาง อย. จะสามารถถอนการจดแจ้งนี้ในภายหลังได้
การมีพืชกัญชา กัญชง ไว้ในครอบครอง ปัจจุบันจัดว่าไม่มีความผิดแล้ว จะมีในจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่ยังมีข้อยกเว้นอยู่ คือ หากมีสารสกัดที่มีปริมาณ Tetrahydrocannabinol หรือ THC จำนวนมากกว่า 0.2% โดยที่ไม่มีใบอนุญาต ไม่ผ่านการรับรองโดยสำนักงาน อย. ไม่มีใบสั่งแพทย์ หรือสารสกัดดังกล่าวนำเข้ามาจากนอกประเทศไทย จะถือว่ามีความผิดและหากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทันที