ยุคนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าข้อมูลมีความสำคัญมาก สามารถทำได้หลายอย่างและเป็นที่ต้องการของเหล่านักธุรกิจ เพราะข้อมูลมีค่ายิ่งกว่าทอง เพราะการทำธุรกิจต่างๆ ต้องอาศัยข้อมูลจากผู้บริโภคในการประกอบการตัดสินใจการทำการตลาด วิเคราะห์ผู้บริโภค เพื่อที่จะทำการส่งเสริมการขายได้อย่างตรงจุดและเข้าใจผู้บริโภคว่าชื่นชอบอะไร ต้องการอะไร สนใจในสิ่งไหนอยู่ “ข้อมูลส่วนบุคคล” จึงกลายเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ ทำให้กฎหมาย PDPA ถูกพูดถึงมากในช่วงนี้ แต่ผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเราจะต้องรู้เกี่ยวกับอะไรบ้างเรามีแนะนำกัน
สารบัญเนื้อหา
PDPA คืออะไร
PDPA เป็นอักษรย่อที่มาจากคำว่า Personal Data Protection Act คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งนับเป็นกฎหมายที่เข้ามากำหนดกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เคยประกาศว่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 แต่ใช้เพียงข้อมูลบางหมวดหมู่เท่านั้น เนื่องจากผลกระทบของสถานการณ์ Covid-19 ทำให้มีประกาศเลื่อนการบังคับใช้
จนล่าสุดในวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ได้มีการประกาศให้ใช้อย่างเต็มรูปแบบแล้ว และมีผลบังคับใช้ที่ระบุให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ทั้งในส่วนของบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐ จะต้องไม่นำเอาข้อมูลส่วนตัวดังกล่าวไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ ที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และให้มีมาตรการเยียวยาแก่เจ้าของข้อมูล หากถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
ก่อนให้ข้อมูลเราจำเป็นต้องดูอะไรบ้าง
ก่อนกรอกข้อมูลส่วนตัวไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ เอกสารใด หรือตามแอปพลิเคชั่น ทุกครั้ง จะต้องอ่านเอกสารยินยอมให้ดีก่อนลงนามหรือคลิกยินยอม และเอกสารหรือข้อความที่ระบุในการยินยอมดังกล่าวจะต้องมีความชัดเจนในการนำไปใช้ของข้อมูล เป็นตัวหนังสือภาษาอ่านง่าย ไม่หลอกลวงและให้ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลเข้าใจผิด เป็นอิสระและไม่มีเงื่อนไขอื่นแอบแฝง
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึงอะไร
สำหรับ พ.ร.บ. PDPA จะเข้ามาช่วยคุ้มครองผู้บริโภคในด้านของข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำให้ระบุตัวตนของบุคคลนั้นได้ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่จะเข้าข่ายในส่วนของความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ตัวนี้ ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลพื้นฐาน คือ ข้อมูลที่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นเจ้าของ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หมายเลขประจำตัวประชาชน เลขบัญชีธนาคาร หรือเลขทะเบียนรถ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ถือว่ามีความละเอียดอ่อน และจัดเป็นหมวดหมู่ข้อมูลแบบ Sensitive Data ซึ่งหากไม่มีการป้องกันและควบคุมการใช้งานที่ดีอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้นจึงต้องมีความคุ้มครองเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ ศาสนา ความเห็นทางการเมือง รสนิยมทางเพศ เป็นต้น และในส่วนข้อมูลที่ไม่จัดเป็นข้อมูลส่วนบุคคล จะเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ หรือเป็นข้อมูลนิติบุคคล เช่น ที่อยู่สำนักงาน เลขทะเบียนบริษัท หรืออีเมลฝ่ายงานต่างๆ ภายในบริษัท เป็นต้น
สิทธิของเจ้าของข้อมูลที่คนทั่วไปอาจไม่รู้มาก่อน
- สิทธิที่จะได้รับการแจ้งให้ทราบเมื่อมีการเก็บข้อมูล ทั้งวัตถุประสงค์ที่จะใช้ข้อมูล และเวลาที่จะนำข้อมูลไปใช้
- สิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้มีการเก็บรวบรวมไว้เมื่อใดก็ได้
- สิทธิที่จะอนุญาตให้มีการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังผู้ให้บริการอีกรายหนึ่ง
- สิทธิที่จะถอดถอนความยินยอมในการใช้งาน เก็บรักษา หรือเปิดเผยข้อมูลที่เคยให้ไว้ได้
- สิทธิที่จะคัดค้านการใช้ เก็บรวบรวม หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- สิทธิที่จะขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
- สิทธิที่จะขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล ให้ถูกต้องหรือเป็นข้อมูลปัจจุบัน
- สิทธิที่จะขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
ชีวิตจะดีขึ้นอย่างไรเมื่อมีกฎหมาย PDPA
ถึงตอนนี้เราคงได้เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของ PDPA กันมากยิ่งขึ้นแล้ว และคงสบายใจขึ้นได้แล้วว่าจะได้รับความคุ้มครองในการเป็นความส่วนตัวของข้อมูล ทีนี้หลายคนอาจยังสงสัยว่าแล้ว PDPA จะช่วยยกระดับให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้จริงหรือ แล้วจะดีขึ้นได้อย่างไร และการมี พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะช่วยให้ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนตัวนั้นรู้และจัดการกับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเราจึงขอยกตัวอย่าง เช่น หาก สมมติว่า ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ของคุณ เป็นข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อญาติคนรู้จักขอยืมรถใช้งาน หรือต้องการนำรถไปใช้ที่ไหน จำเป็นต้องขออนุญาตกับคุณก่อน หรือจะส่งให้ใครก็ตามจำเป็นที่จะต้องบอกให้คุณทราบทุกครั้ง และคุณมีสิทธิ์ในการขอคืนรถ หรือสามารถกำหนดเงื่อนไขในการใช้รถได้ตามข้อตกลงกับคนรู้จักของคุณได้ทุกเมือ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นแล้วให้มั่นใจได้มากยิ่งขึ้นว่าจะปลอดภัย ถูกใช้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์สูงสุดกับเจ้าของข้อมูล
คุณค่าของข้อมูลคือคุณค่าของความเป็นมนุษย์
สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล ถือเป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ต้องตระหนักและให้ความสำคัญ บางครั้งการมองข้ามข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ว่าคงไม่มีใครนำไปใช้หาผลประโยชน์ก็คงไม่ใช่ เพราะข้อมูลของทุกคนมีค่าและมีความสำคัญในตัวเอง ดังนั้นจึงไม่อยากให้คิดว่าตัวคุณเองเป็นคนไม่สำคัญ เพราะทุกคนมีบทบาททางสังคมด้วยกันทั้งสิ้น เรื่องการปกปิดข้อมูลส่วนตัวและการเข้าถึงจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก
การมี PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทำให้ภาคธุรกิจหลายๆ แห่งเริ่มให้ความสำคัญกับสิทธิด้านข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น การมีกฎหมายนี้คุ้มครองผู้บริโภคจึงทำให้ธุรกิจที่แสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงมนุษยธรรมของผู้อื่นจึงลดน้อยลง และแน่นอนว่าเป็นผลดีกับผู้บริโภคคนทั่วไป ที่แม้จะไม่มีความรู้ทางกฎหมายแต่ก็ช่วยลดทอนการเอาเปรียบทางข้อมูลจากผู้อื่นได้
จัดทำเนื้อหาโดย mixclub999