นวัตกรรมยานยนต์แบบไร้คนขับ ที่เคยเห็นตามในภาพยนตร์ หรือจินตนาการจากอดีตกำลังจะเป็นจริง เพราะล่าสุดทาง วิศวฯ จุฬาฯ ได้จับมือกับหน่วยงานภาครัฐ เปิดโครงการทดสอบระบบ 5G ที่สามารถเชื่อมต่อเทคโนโลยีรถรับส่งผู้โดยสารแบบไร้คนขับ เตรียมพร้อมไปสู่การเป็น use case พร้อมใช้งานจริงในประเทศไทย
สารบัญเนื้อหา
คณาจารย์ภาควิศวกรรมจุฬาฯ เปิดตัวโครงการถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ
เปิดทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยสารแบบไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod) นวัตกรรมจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้มีการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศอย่าง CAV มาใช้ทดสอบและพัฒนาระบบ เป็นที่แรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 โดยมีประธานเปิดตัวรถรับและส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี ร่วมกับหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล, วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผู้แทนจากกรรมการบริหารคณะฯ ร่วมดำเนินการทดสอบสมรรถภาพและการใช้งานของรถรับส่งผู้โดยสารดังกล่าว
การทดสอบระบบขับขี่แบบไร้คนขับในครั้งนี้ เพื่อนำไปต่อยอดในอนาคตสำหรับการพัฒนาควบคุมรถรับส่งผู้โดยสารและคนขับ โดยรถประเภทดังกล่าวจะใช้รับส่งผู้โดยสารช่วงต้นและท้ายของการเดินทาง (First and Last Mile) เชื่อมต่อกับการเดินทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน รถโดยสารสาธารณะ และการคมนาคมอื่นๆ โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ต้องการที่จะพัฒนาให้มีการใช้รถรับส่งผู้โดยสารและคนขับจริง หรือเปิดบริการแบบเรียกผ่านแอปไร้คนขับเพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านการจราจรในกรุงเทพฯ
เปิดโครงการทดสอบระบบรถไร้คนขับผ่านระบบ 5G
คณบดีวิศวฯ จุฬาฯ นำทีมหัวหน้าโครงการทดลองการสื่อสารที่ใช้ระบบ 5G สำหรับพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ เปิดแพลตฟอร์มสำหรับวิจัยและทดสอบระบบรถรับส่งผู้โดยแบบสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod)
C-A-S-E ส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาระบบขับขี่แบบไร้คนขับ
สำหรับเทคโนโลยีไร้คนขับในด้านยานยนต์ ถือเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่สำคัญของยานยนต์สมัยใหม่ ทั้ง 4 ส่วน คือ C-A-S-E ได้แก่ Connected, Automated, Shared และ Electric vehicle โดยที่หากเปรียบเทียบกับส่วนอื่นแล้ว รถยนต์แบบไร้คนขับจะต้องมีความพร้อมรอบด้าน ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสาร การคมนาคม ในระดับคุณภาพสูง
ภายใต้โครงการทดสอบด้วยระบบ 5G กับรถรับส่งโดยสารแบบไร้คนขับนี้ ทางคณะฯ จึงมีเป้าหมายในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษา ร่วมวิจัยทดสอบระบบไร้คนขับ ได้รับการสนับสนุนจาก กทปส. และ กสทช. ทำให้ทางทีมงานของโครงการ มีความร่วมมือจากอาจารย์ ทั้ง 4 ภาควิชาจากคณะวิศวกรรมฯ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
เน้นเพิ่มศักยภาพความปลอดภัย อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
จุดมุ่งหมายของโครงการนี้ เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุทางถนน หากการพัฒนาโครงการประสบความสำเร็จ และช่วยแก้ปัญหาในด้านการจราจร ของคนเมืองกรุง ซึ่งจากการทดลองไม่ได้แค่ช่วยให้ควบคุมความเสี่ยงบนท้องถนนเท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยในการเดินทางของผู้โดยสารอีกด้วย เพิ่มความสะดวกและเข้ากับวิถีการชีวิตในยุคใหม่
การทดลองดังกล่าวนี้จัดอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Smart MOB) ซึ่งทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์วิจัยและบูรณาการแห่งแรกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และได้มีการศึกษาพัฒนาระบบด้านการขนส่งอัจฉริยะ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมไปถึงระบบความปลอดภัยทางท้องถนน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเดินทางขนส่งคมนาคมของสังคมผู้สูงอายุ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556
มุ่งเป็นศูนย์กลางพัฒนาระบบสื่อสาร 5G และนวัตกรรมรถไร้คนขับ
อย่างไรก็ตามทาง คณบดีวิศวกรรมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล ได้ระบุถึงการทดลองครั้งนี้ว่า ศูนย์วิจัยยานยนต์และระบบขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility Research Center) ต้องการให้แผนโครงการยานยนต์ไร้คนขับนี้ เป็นศูนย์กลางในการให้นักวิจัยจากภาควิชาต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการนำไปใช้ประโยชน์ และพัฒนาให้เกิดเป็น use case เพื่อความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้โดยสารและผู้ใช้ท้องถนนในอนาคต
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ยังได้มีการกล่าวถึงแนวทางการทดสอบระบบ ยานยนต์แบบไร้คนขับ ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ร่วมกันจากหลายส่วน ให้เกิดการใช้งานจริงได้ในอนาคต โดยมุ่งหวังให้มีการนำบาคาร่าระบบการสื่อสารแบบ 5G และ นวัตกรรมไร้คนขับ มาใช้งานร่วมกับระบบอื่นๆ ในภายภาคหน้าได้อีกด้วย
บรรยากาศการเปิดโครงการ
คณบดีและทีมงานโครงการ ร่วมเปิดแพลตฟอร์มการวิจัยและทดสอบระบบนวัตกรรมยานยนต์รับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อ้างอิงข้อมูล
https://www.eng.chula.ac.th/th/34771